ทีมนักวิจัยจาก Tokyo Metropolitan University ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยซึ่งอาจพลิกโฉมกระบวนการ Carbon Capture ไปตลอดกาล ด้วยวิธี Direct Air Capture (DAC) แบบใหม่ ที่ทำงานได้มากถึง 99% ของประสิทธิภาพ
.
โดยปัจจุบัน Carbon Capture หรือการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ สามารถทำได้ 2 แบบ คือแบบ Liquid DAC ที่ดักจับคาร์บอนผ่านน้ำยา ก่อนนำมาผ่านกระบวนการทางเคมี กับ Solid DAC ที่ใช้ฟิลเตอร์มาจับคาร์บอนไว้ จากนั้นสกัดคาร์บอนบริสุทธิ์ออกมาด้วยความร้อน
.
อย่างไรก็ดี ระบบการดักจับคาร์บอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากใช้งบประมาณมหาศาลในกระบวนการดึงคาร์บอนที่ดักจับได้มาใช้ประโยชน์ ทีมงานของศาสตราจารย์ Seiji Yamazoe จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ในการดักจับคาร์บอน นั่นคือการรวมเอาแบบ Liquid (ของเหลว) Solid (ของแข็ง) เข้าด้วยกัน
.
ในตอนเริ่มต้นจะใช้เทคนิคแบบ Liquid ซึ่งจะมีการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำยา แต่เปลี่ยนวิธีการนำคาร์บอนมาใช้ ด้วยการทำให้คาร์บอนกลายเป็นสารไม่ละลายน้ำ และออกจากน้ำยาในรูปแบบของแข็ง
.
ซึ่งวิธีนี้ทำให้การดักจับคาร์บอนทำได้เร็วขึ้น 2 เท่าจากที่ใช้ในปัจจุบัน และมีประสิทธิภาพกว่า 99% นั่นเอง
.
ส่วนการสกัดคาร์บอนออกมา ก็เช่นเดียวกับวิธี Solid DAC คือการสกัดผ่านความร้อน 60 องศาเซลเซียส และน้ำยาที่ใช้ในกระบวนการดักจับก็สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ ทำให้นี่เป็นวิธีที่ไวขึ้นและดีต่อโลกมากขึ้น
.
อย่างไรก็ดี หากเราสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ที่ตัวเราตั้งแต่แรก ก็จะช่วยโลกได้ดีกว่าการดักจับคาร์บอนที่ปลายทางมาก