ในวันที่ปัญหาฝุ่นควันยังแก้ไม่ตก แม้จะมีมาตรการมากมายที่ถูกผลักดันออกมาเพื่อควบคุม ป้องกันและลดความรุนแรงลงทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และในระยะยาว แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอและไม่ทันการในยามนี้ ด้วยว่ามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นปัญหาใหญ่ในหลากหลายพื้นที่ ทั้งปัจจัยและสาเหตุที่เกิดก็แตกต่างกัน และสร้างผลกระทบที่เลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง
เพราะบุคคลในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบที่รวดเร็วและรุนแรงกว่าคนทั่วไป หนึ่งในทางออกที่เราสามารถนำไปใช้ได้จริง ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล และค่อนข้างได้ผลเป็นอย่างดี นั่นคือการทำ ‘ห้องปลอดฝุ่น’
นิยามของ ‘ห้องปลอดฝุ่น’ ไม่ได้หมายความถึงห้องที่ปราศจากฝุ่นได้อย่างหมดจด แต่คือห้องที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กน้อย หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งห้องนี้จะทำหน้าที่คล้ายกับหลุมหลบภัยในยามสงคราม ไม่ว่าอากาศภายนอกจะเป็นพิษ แสบจมูกแค่ไหน แต่พอเข้ามาในห้องปลอดฝุ่นแล้วเราจะต้องปลอดภัย สามารถถอดหน้ากากอนามัยแล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอดได้เลย
ห้องปลอดฝุ่นนั้นเหมาะสำหรับการทำในห้องที่เราอยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงานที่เราต้องใช้เวลาอยู่ด้วยนานๆ ซึ่งการทำห้องหลบภัยนี้ก็มีหลักการคร่าวๆ อยู่ว่า
1. ปิดประตู-หน้าต่าง ช่องเปิดทุกช่อง รอยรั่ว ช่องว่างทุกชนิด อุดให้หมด ไม่ให้อากาศไหลผ่านได้
2. งดทำกิจกรรมใดๆที่ก่อให้เกิดฝุ่นหรือมลพิษ เช่น ไม่จุดธูป งดสูบบุหรี่ หรือ ห้ามทำอาหาร
3. ทำความสะอาดข้าวของ และพื้นผิวของห้องให้สะอาดด้วยผ้าชุบน้ำแทนการกวาด อีกทั้งควรลดเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่อาจจะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นได้ เช่น พรม ผ้าม่าน โซฟาผ้า เป็นต้น
4. ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในห้องด้วยเครื่องฟอกอากาศ/เครื่องกรองอากาศที่ใช้แผ่นกรองอากาศชนิด HEPA หรือมีระบบดักจับฝุ่นละอองด้วยไฟฟ้าสถิต
1. ปิดประตู-หน้าต่าง ช่องเปิดทุกช่อง รอยรั่ว ช่องว่างทุกชนิด อุดให้หมด ไม่ให้อากาศไหลผ่านได้
2. งดทำกิจกรรมใดๆที่ก่อให้เกิดฝุ่นหรือมลพิษ เช่น ไม่จุดธูป งดสูบบุหรี่ หรือ ห้ามทำอาหาร
3. ทำความสะอาดข้าวของ และพื้นผิวของห้องให้สะอาดด้วยผ้าชุบน้ำแทนการกวาด อีกทั้งควรลดเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่อาจจะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นได้ เช่น พรม ผ้าม่าน โซฟาผ้า เป็นต้น
4. ลดฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในห้องด้วยเครื่องฟอกอากาศ/เครื่องกรองอากาศที่ใช้แผ่นกรองอากาศชนิด HEPA หรือมีระบบดักจับฝุ่นละอองด้วยไฟฟ้าสถิต
จากหลักการทั้ง 4 ข้อที่ว่ามา เราสามารถนำมาประยุกต์สร้างเป็นห้องปลอดฝุ่นได้อีก 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ให้เราเลือกนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของตัวเองได้ตามความเหมาะสมคือ
รูปแบบที่ 1 ป้องกันจากภายนอก
คือการปิดประตูหน้าต่างและช่องต่างๆ เพียงอย่างเดียว วิธีการนี้ราคาไม่สูงและทำได้ง่ายที่สุด แต่ฝุ่นละอองในห้องไม่ได้ลดลง เพียงแค่ไม่เพิ่มขึ้นเท่านั้น และเมื่อยามใดที่ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจากภายนอกลดต่ำลง ก็ควรต้องเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศบ้าง เพื่อหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าภายในห้อง
คือการปิดประตูหน้าต่างและช่องต่างๆ เพียงอย่างเดียว วิธีการนี้ราคาไม่สูงและทำได้ง่ายที่สุด แต่ฝุ่นละอองในห้องไม่ได้ลดลง เพียงแค่ไม่เพิ่มขึ้นเท่านั้น และเมื่อยามใดที่ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศจากภายนอกลดต่ำลง ก็ควรต้องเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศบ้าง เพื่อหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าภายในห้อง
รูปแบบที่ 2 ป้องกันจากภายนอก + ฟอกอากาศภายใน
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รูปแบบที่ 1 + เครื่องฟอกอากาศนั่นเอง วิธีการนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของเครื่องฟอกอากาศที่ต้องจัดหามา ซึ่งควรเลือกซื้อให้พอดีกับขนาดของห้อง รูปแบบที่ 2 นี้สามารถลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กลงได้อย่างมาก
แต่วิธีนี้ก็ยังคงต้องเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศเป็นครั้งเป็นคราวเช่นกัน มิฉะนั้นห้องอาจจะอับและมีการสะสมตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ หรือใช้เครื่องปรับอากาศเป็นตัวช่วยในการลดปัญหาเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องปรับอากาศหลายรุ่นได้ถูกพัฒนาคุณภาพขึ้นมาให้สามารถใช้แผ่นกรองอากาศชนิด HEPA หรือใกล้เคียงได้แล้ว
รูปแบบที่ 3 คือ การทำห้องแรงดันบวก
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบระบบที่ล้ำที่สุดและราคาสูงที่สุดเช่นกัน จึงเหมาะกับสถานที่ใหญ่ๆ อย่างสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล บ้านพักคนชรา อาคารขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก หรืออาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยมากพอสมควร ถึงจะคุ้มค่าแก่การลงทุน
การทำห้องแรงดันบวกมีต้นทุนสูงก็เพราะต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่จะทำหน้าที่ดูดเอาอากาศจากภายนอก ผ่านระบบกรอง HEPA แล้วค่อยพ่นอากาศสะอาดเข้าไปในห้องหรืออาคาร ซึ่งจะส่งผลให้ความดันอากาศภายในห้องมีมากกว่าภายนอก ความดันที่แตกต่างกันจะคอยผลักฝุ่นละอองให้ค่อยๆ ออกจากในห้องแทน กระบวนการนี้จะทำให้อากาศภายในห้องค่อยๆ บริสุทธิ์ขึ้น และยังทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศที่ดีอีกด้วย
นอกเหนือจากการทำห้องปลอดฝุ่นแล้ว บริเวณโดยรอบอาคารหรือห้องที่จะใช้เป็นห้องปลอดฝุ่นนั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก การจัดสรรพื้นที่โดยรอบให้มีความเหมาะสมก็สามารถช่วยให้ห้องปลอดฝุ่นนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากอีกด้วย ซึ่งเราสามารถทำได้โดย
1. งดกิจกรรมก่อให้เกิดฝุ่น เช่น งดเผาขยะ เศษใบไม้ สูบบุหรี่ โดยรอบบริเวณนั้น
2. หมั่นทำความสะอาดบริเวณโดยรอบอยู่เสมอ
3. ปลูกต้นไม้โดยรอบเพื่อเป็นระบบกรองอากาศตามธรรมชาติ ควรเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมต่อการดักจับฝุ่น ซึ่งสมควรปลูกทั้งแบบยืนต้น ทรงพุ่มใต้ไม้ยืนต้นอีกที หรือแม้แต่สวนแนวตั้งหรือไม้เลื้อยคลุมหลังคา ก็ล้วนแล้วแต่ช่วยลดฝุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ
1. งดกิจกรรมก่อให้เกิดฝุ่น เช่น งดเผาขยะ เศษใบไม้ สูบบุหรี่ โดยรอบบริเวณนั้น
2. หมั่นทำความสะอาดบริเวณโดยรอบอยู่เสมอ
3. ปลูกต้นไม้โดยรอบเพื่อเป็นระบบกรองอากาศตามธรรมชาติ ควรเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมต่อการดักจับฝุ่น ซึ่งสมควรปลูกทั้งแบบยืนต้น ทรงพุ่มใต้ไม้ยืนต้นอีกที หรือแม้แต่สวนแนวตั้งหรือไม้เลื้อยคลุมหลังคา ก็ล้วนแล้วแต่ช่วยลดฝุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ
โดยต้นไม้มีความสามารถในการดักจับฝุ่น จะมีลักษณะเป็นพุ่มที่มีใบเรียวเล็ก มีขนที่ใบหรือผิวใบที่ชื้นเหนียว มีลำต้นและกิ่งก้านพันกันอย่างสลับซับซ้อน และเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ส่วนต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูงที่สุด 5 อันดับ อ้างอิงจากข้อมูลศึกษาของ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบไปด้วย ต้นทองอุไร ตะขบฝรั่ง เสลา จามจุรี และแคแสด
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงแค่แนวทางอย่างคร่าวๆ สามารถนำมาปรับใช้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และบุคคล ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่มีตัวอย่างให้ศึกษาได้ตามลิงก์ของกรมอนามัยที่แนบไว้ในส่วนที่มาข้อมูลท้ายบทความ
แต่นอกเหนือจากการทำห้องให้ปลอดฝุ่นแล้ว การปกป้องตัวเองยามอยู่นอกห้องปลอดฝุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน และช่วยกันลดปัจจัยที่ีก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วยวิธีการต่างๆ ที่เราสามารถทำได้ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาในระดับนโยบายของหลายภาคส่วนการทำงาน ที่ยังคงผลักดันเพื่อเรียกคืนอากาศที่บริสุทธิ์กลับมาสู่เมือง
ที่มาข้อมูล:
1. กรมอนามัย www.region4.hpc.go.th
1. กรมอนามัย www.region4.hpc.go.th